#เดย์ไทม์นิวส์ออนไลน์ “เฉลิมชัย”โชว์ผลงานเพิ่มพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืน(Sustainable Agriculture)ปี64กว่า1.7ล้านไร่ เร่งเครื่องวางหมุดหมายฟาร์มเกษตรอินทรีย์ทุกตำบล ดึง”พอช.”ลุยชุมชนสีเขียวพร้อม ผนึก”ศธ.”ปั้นกรีนสกูล

#เดย์ไทม์นิวส์ออนไลน์

“เฉลิมชัย”โชว์ผลงานเพิ่มพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืน(Sustainable Agriculture)ปี64กว่า1.7ล้านไร่ เร่งเครื่องวางหมุดหมายฟาร์มเกษตรอินทรีย์ทุกตำบล ดึง”พอช.”ลุยชุมชนสีเขียวพร้อม ผนึก”ศธ.”ปั้นกรีนสกูล


นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยวันนี้(18พ.ย.)ว่าดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมายให้เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ครั้งที่ 3/2564 ผ่านระบบ ZOOM โดยมีนายปราโมทย์ ยาใจ อธิบดีกรมหม่อนไหม นายสถาพร ใจอารีย์ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน นายธีระ วงษ์เจริญ ประธานเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ นายปริญญา พรศิริชัยวัฒนา ประธานชมรมเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย ตัวแทนหน่วยงานกระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตัวแทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) เครือข่ายของมูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย ตัวแทนภาคเกษตรกร ร่วมในการประชุม
นายอลงกรณ์กล่าวว่า จากความร่วมมือของทุกภาคีภาคส่วน ทำให้การพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนในปีนี้มีความก้าวหน้าอย่างมากจากรายงานการดำเนินงานของหลายหน่วยงานสามารถขยายพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืนประจำปีงบประมาณ2564ได้กว่า 1,766,269.15 ไร่ ทั้งในรูปแบบของเกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ และเกษตรอินทรีย์
นอกจากนี้ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล (Tambom Sustainable Agriculture Development Project: TAP) ซึ่งมีเป้าหมาย 7,255 ตำบล ทั่วประเทศ โดยจะเน้นส่งเสริมการทำเกษตรกรรมยั่งยืนทั้งในทุกตำบล และเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้เกิดเกษตรกรรมยั่งยืนกินได้ อยู่ได้ และอยู่ดี ภายใต้แนวคิด “บริหารโดยชุมชน เป็นของชุมชน เพื่อชุมชน” ใน 21 แนวทางได้แก่ (1) 1 ตำบล 1 เกษตรทฤษฎีใหม่ (2) 1 ตำบล 1 ร้านค้าเกษตรตำบล
(3) 1 ตำบล 1 แปลงเกษตรอินทรีย์ (4) 1 ตำบล 1 product champion (5) 1 ตำบล 1 วนเกษตร (6) 1 ตำบล 1 กลุ่ม Young smart (7) 1 ตำบล 1 เกษตรธรรมชาติ (8) 1 ตำบล 1 แปลงสมุนไพร (9) 1 ตำบล 1 เกษตรผสมผสาน (10) 1 ตำบล 1 กลุ่มปศุสัตว์ (11) 1 ตำบล 1 เครือข่ายศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (12) 1 ตำบล 1 กลุ่มประมง (13) 1 ตำบล 1 องค์กรกองทุนฟื้นฟูเกษตรกร (14) 1 ตำบล 1 ท่องเที่ยวเกษตร (15) 1 ตำบล 1 โครงการชลประทานชุมชน (16) 1 ตำบล 1 เครือข่าย ศพก. (17) 1 ตำบล 1 ธนาคารต้นไม้ (ผลิตและจำหน่ายต้นกล้า) (18) 1 ตำบล 1 วิสาหกิจชุมชน (19) 1 ตำบล 1 กลุ่มเครื่องจักรกลเกษตร (20) 1 ตำบล 1 ตลาดออนไลน์ (21) 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรพลังงาน ซึ่งที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการของโครงการ ก่อนนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อการขับเคลื่อนต่อไป

ทั้งนี้ นายอลงกรณ์ ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องขับเคลื่อนด้านเกษตรกรรมยั่งยืนในโลกยุคใหม่หลัง COVID-19 เพื่อพัฒนาและเปลี่ยนแปลงภาคการเกษตรไทย ตาม 3. ยุทธศาสตร์”3’s”(Safety-Security-Sustainability-เกษตรปลอดภัย เกษตรมั่นคงและเกษตรยั่งยืน ของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามยุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติ เพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกต่อไป

นอกจากนี้ที่ประชุมยังรับทราบความก้าวหน้าในการดำเนินงานโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง (Sustainable Urban Agriculture Development Project : SUAD Project) และโครงการธนาคารสีเขียว (Green Bank) ซึ่งขยายการดำเนินงานไปในระดับชุมชน เมือง จังหวัด และกลุ่มจังหวัด(เขต)ทั่วประเทศพร้อมเพิ่มการขับเคลื่อนในพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรมภายใต้คณะทำงานอุตสาหกรรมสีเขียว(Green Industry)
ในส่วนของโครงการในพื้นที่วัด (Green Temple)ที่ดำเนินการภายใต้แนวคิด การปลูกเพื่อเป็นอาหาร ปลูกเป็นยา ปลูกเป็นเงิน ปลูกเป็นสิ่งแวดล้อม และจะเชื่อมโยงกับพื้นที่โรงเรียน พื้นที่บ้านชุมชนและท้องถิ่น (โมเดล บ.ว.ร.)เนื่องจากมีที่ดินของวัดที่เป็นโรงเรียนวัด และที่ดินของวัดที่มีชุมชนอาศัยอยู่โดยรอบ โดยจะใช้ “วัดทรัพย์สโมสรนิกรเกษม” ในเขตหนองจอก และอีกหลายวัดในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลเป็นพื้นที่นำร่องในชุดแรกๆ และกำลังอยู่ในขั้นตอนประสานไปยังมัสยิตถ์ ฮินดู ศาสนาซิกข์ และโบสถ์ของศาสนาคริสต์ เพื่อที่จะดำเนินการและขยายผลต่อไป
สำหรับการดำเนินการโครงการเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองในพื้นที่โรงเรียน และวิทยาลัย (Green College ,Green School) มีแผนงานโครงการน้องเพาะพี่ปลูก โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือโรงเรียนและวิทยาลัยไม่น้อยกว่า 20 แห่ง ภายใต้แผน 4 ระยะ โดยภายในเดือนกันยายน 2565 ที่จะมีการจัด Expo แสดงผลการดำเนินงาน จะขอความอนุเคราะห์ในการสนับสนุนการดำเนินงานจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกัน เช่น กรมป่าไม้, กองทัพภาคที่ ๑-๔, หน่วยงานทางการศึกษา, มูลนิธิสถาบันราชพฤกษ์, มูลนิธิโลกสีเขียว, องค์กรก๊าซเรือนกระจก เป็นต้น เพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างความตระหนักรู้ให้เกิดการขยายผลต่อเนื่อง

ทางด้านคณะทำงานโครงการระดับชุมชนและท้องถิ่น (Green Community) ได้มีการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างคณะกรรมการบริหารโครงการการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมืองร่วมกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน เพื่อขับเคลื่อนองคาพยพร่วมกันทั่วประเทศ โดยคณะทำงานได้ตั้งเป้าหมายไว้ว่าใน 1 จังหวัด จะมี 1 โครงการต้นแบบ และความร่วมมือกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ในการประชาสัมพันธ์แนวคิดของคณะกรรมการชุดนี้ขยายไปทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ซึ่งในปัจจุบันได้ดำเนินการโครงการแล้วในหลายพื้นที่ เช่น จังหวัดขอนแก่นได้เริ่มต้นโครงการปลูกผักสวนครัวบริเวณชุมชนริมทางรถไฟ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาหารในพื้นที่ เป็นต้น

สำหรับในพื้นที่อาคารชุด (Green Condo) ทางสมาคมอาคารชุดไทยซึ่งทางผู้บริหารระดับสูงของบริษัทด้าน Property Developer จำนวน 12 ท่าน ที่โครงการตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ได้กำหนดให้รณรงค์และเชิญชวนประชาชนและผู้พักอาศัยในคอนโดมิเนียมปลูกพืชในพื้นที่ส่วนบุคคล ตลอดจน Developer เจ้าของโครงการ และนิติบุคคลอาคารชุด ให้ความร่วมมือในการเลือกปลูกพันธุ์ไม้ที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมในระดับที่สูงขึ้นจากเดิมในพื้นที่ส่วนกลางของอาคารชุด โดยมีโครงการ The Forestias ของบริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด บนพื้นที่กว่า 300 ไร่ และมีพื้นที่สีเขียวมากกว่า 50% เป็นโครงการต้นแบบให้แก่อาคารชุดในเครือข่าย

ด้านการขับเคลื่อนโครงการในพื้นที่การเคหะแห่งประเทศไทย ได้มีการมอบต้นฟ้าทะลายโจรแก่ชุมชนของของการเคหะฯ กว่า 21 ชุมชน ทั้งในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อการเพิ่มพืนที่สีเขียว และเป็นแหล่งยารักษาโรคต่อสู้กับ COVID-19

พร้อมกันนั้นที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล (Tambom Sustainable Agriculture Development Project: TAP) ซึ่งมีเป้าหมาย 7,255 ตำบล ทั่วประเทศ โดยจะเน้นส่งเสริมการทำเกษตรกรรมยั่งยืนทั้งในทุกตำบล และเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้เกิดเกษตรกรรมยั่งยืนกินได้ อยู่ได้ และอยู่ดี ภายใต้แนวคิด “บริหารโดยชุมชน เป็นของชุมชน เพื่อชุมชน” ใน 21 แนวทางได้แก่ (1) 1 ตำบล 1 เกษตรทฤษฎีใหม่ (2) 1 ตำบล 1 ร้านค้าเกษตรตำบล
(3) 1 ตำบล 1 แปลงเกษตรอินทรีย์ (4) 1 ตำบล 1 product champion (5) 1 ตำบล 1 วนเกษตร (6) 1 ตำบล 1 กลุ่ม Young smart (7) 1 ตำบล 1 เกษตรธรรมชาติ (8) 1 ตำบล 1 แปลงสมุนไพร (9) 1 ตำบล 1 เกษตรผสมผสาน (10) 1 ตำบล 1 กลุ่มปศุสัตว์ (11) 1 ตำบล 1 เครือข่ายศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (12) 1 ตำบล 1 กลุ่มประมง (13) 1 ตำบล 1 องค์กรกองทุนฟื้นฟูเกษตรกร (14) 1 ตำบล 1 ท่องเที่ยวเกษตร (15) 1 ตำบล 1 โครงการชลประทานชุมชน (16) 1 ตำบล 1 เครือข่าย ศพก. (17) 1 ตำบล 1 ธนาคารต้นไม้ (ผลิตและจำหน่ายต้นกล้า) (18) 1 ตำบล 1 วิสาหกิจชุมชน (19) 1 ตำบล 1 กลุ่มเครื่องจักรกลเกษตร (20) 1 ตำบล 1 ตลาดออนไลน์ (21) 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรพลังงาน ซึ่งที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการของโครงการ ก่อนนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พิจารณาเพื่อการขับเคลื่อนต่อไป

ทั้งนี้ นายอลงกรณ์ ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องขับเคลื่อนด้านเกษตรกรรมยั่งยืนในโลกยุคใหม่หลัง COVID-19 เพื่อพัฒนาและเปลี่ยนแปลงภาคการเกษตรไทย ตาม 3. ยุทธศาสตร์”3’s”(Safety-Security-Sustainability-เกษตรปลอดภัย เกษตรมั่นคงและเกษตรยั่งยืน ของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตามยุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติ เพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกต่อไป

เดชา  อุ่นขาว  ข่าว”เดย์ไทม์นิวส์ออนไลน์”รายงาน

Related posts