#เดย์ไทม์นิวส์ออนไลน์ “อลงกรณ์”รวมพลคนประมงพื้นบ้านกว่า100,000คนจัดตั้งองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น 2,776 องค์กรใน50จังหวัดตั้งงบสนับสนุนปีละ200องค์กร พร้อมเปิดตัวหมู่บ้านประมงท่องเที่ยวอีก 53 แห่ง เร่งพัฒนาอาชีพแปรรูปผลิตภัณฑ์ออกมาตรฐานประมงพื้นบ้านยั่งยืนสร้างแบรนด์ขยายตลาด Fisheries Shopเพิ่มรายได้ชาวประมงภายใต้นโยบายส่งเสริมพัฒนาประมงพื้นบ้านของรัฐมนตรีเกษตรฯ.”เฉลิมชัย ศรีอ่อน”

#เดย์ไทม์นิวส์ออนไลน์

“อลงกรณ์”รวมพลคนประมงพื้นบ้านกว่า100,000คนจัดตั้งองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น 2,776 องค์กรใน50จังหวัดตั้งงบสนับสนุนปีละ200องค์กร
พร้อมเปิดตัวหมู่บ้านประมงท่องเที่ยวอีก 53 แห่ง เร่งพัฒนาอาชีพแปรรูปผลิตภัณฑ์ออกมาตรฐานประมงพื้นบ้านยั่งยืนสร้างแบรนด์ขยายตลาด Fisheries Shopเพิ่มรายได้ชาวประมงภายใต้นโยบายส่งเสริมพัฒนาประมงพื้นบ้านของรัฐมนตรีเกษตรฯ.”เฉลิมชัย ศรีอ่อน”

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงชชเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทยเปิดเผยวันนี้(18 ก.ย.)ภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทยครั้งที่4 ว่า ที่ประชุมรับทราบรายงานความคืบหน้าการดำเนินการ โดยคณะอนุกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงพื้นบ้าน รายงานผลการขึ้นทะเบียนองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นแล้วจำนวนทั้งสิ้น 2,776 องค์กร สมาชิกจำนวน 104,891 ราย และความคืบหน้าโครงการพัฒนาอาชีพและส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนประมง องค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นเข้าร่วมโครงการ ได้แก่ องค์กรชุมชนประมงด้านชายฝั่ง 80 ชุมชน ด้านน้ำจืด 84 ชุมชน ด้านแปรรูป 36 ชุมชน และได้อนุมัติโครงการและกิจกรรมตามความต้องการของชุมชน เพื่อพัฒนาอาชีพประมง จำนวน 200 องค์กรเรียบร้อยแล้วเป็นเงินทั้งสิ้น 20 ล้านบาทและจะสนับสนุนงบประมาณทุกปีๆละอย่างน้อย200 องค์กรๆละ100,000บาท

“ภายใต้นโยบายสร้างความเข้มแข็งชุมชนและองค์กรเกษตรกรโดยเฉพาะประมงพื้นบ้านซึ่งเป็นชาวประมงรายย่อยของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาศักยภาพการประมงไทย กรมประมงโดยนายเฉลิมชัย สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมประมงได้บูรณาการทำงานเชิงรุกกับทุกภาคส่วนร่วมมือกันเร่งดำเนินการพัฒนาชุมชนและหมู่บ้านประมงพื้นบ้านเพื่อเพิ่มรายได้ด้วยโครงการใหม่ๆโดยจัดตั้งองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่นทั้งประมงน้ำจืดและน้ำเค็มให้เกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนและต่อยอดสร้างรายได้เพิ่มจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการท่องเที่ยว”

นายอลงกรณ์ยังเปิดเผยต่อไปว่า นอกจากนี้ที่ประชุมได้รับทราบผลการดำเนินงานของคณะอนุกรรมการพัฒนาผลิตผลผลิตภัณฑ์ประมงและการพาณิชย์ ที่ได้ถ่ายทอดความรู้ทางวิชาการด้านสุขลักษณะที่ดีในการแปรรูปสัตว์น้ำ มีการเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์และน้ำอุปโภคบริโภคมาตรวจคุณภาพ รวมทั้งถ่ายทอดเทคนิคการแปรรูปผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำและบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสม ในองค์กรชุมชนประมงท้องถิ่น จำนวน 25 แห่ง จาก 18 จังหวัด ซึ่งอยู่ในภาคต่าง ๆ ได้แก่ภาคใต้ จำนวน 6 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 8 แห่ง ภาคเหนือ จำนวน 3 แห่ง ภาคตะวันออกจำนวน 2 แห่ง และภาคกลาง จำนวน 6 แห่ง และการออกหนังสือรับรองมาตรฐานการทำการประมงพื้นบ้านอย่างยั่งยืนและการแปรรูปสินค้าประมงพื้นบ้าน พร้อมกับการพัฒนาแบรนด์โดยให้การรับรองมาตรฐานการทำการประมงพื้นบ้านอย่างยั่งยืนให้แก่ชาวประมงพื้นบ้าน จำนวน 128 ราย และการรับรองสินค้าประมงที่จำหน่ายบนเว็ปไซต์ Fisheries Shop ของกรมประมง


สำหรับการพัฒนาหมู่บ้านประมงเป็นแหล่งท่องเที่ยวภายใต้โครงการฟิชเชอร์แมนวิลเลจรีสอร์ต ( Fisherman’s Village Resort )มีความคืบหน้าโดยกรมประมงได้ส่งเสริมชุมชนประมงชายฝั่งที่มีศักยภาพ 22 จังหวัด สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ 53 แห่ง โดยมอบหมายให้กรมประมงขยายความร่วมมือกับทุกภาคีภาคส่วนพัฒนาอาชีพและส่งเสริมความเข้มแข็งชุมชนประมงด้วย โดยนำแนวทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ(wellness tourism)มาประยุกต์ใช้ และให้ส่งเสริมการตลาดแบบออนไลน์(Online Market)เพื่อช่วยสนับสนุนการขายและการประชาสัมพันธ์

ซึ่งจะสร้างรายได้ให้กับหมู่บ้านประมงทางด้านการท่องเที่ยวอีกทางหนึ่งด้วยในการประชุมคณะกรรมการ ฯ ครั้งที่ 4/2565 ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ zoom cloud meeting มี นายอรุณชัย พุทธเจริญ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง ผู้แทนกระทรวงการคลัง ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ ผู้แทนกรมเจ้าท่า ผู้แทนองค์การสะพานปลา ผู้แทนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ผู้แทนกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และผู้แทนภาคเอกชน สมาคมการประมง และผู้แทนเครือข่ายเกษตรกรชาวประมง เข้าร่วมประชุม และ นายพัฒนพงศ์ ชูแสง ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการทรัพยากรและกำหนดมาตรา กรมประมง เป็นฝ่ายเลขานุการการประชุม

เดชา   อุ่นขาว   ข่าว”เดย์ไทม์นิวส์ออนไลน์”รายงาน

Related posts