##เดย์ไทม์นิวส์ออนไลน์##ข่าวสาร สร้างสรรค์ ทันเหตุการณ์##กรมสอบสวนคดีพิเศษ ร่วมกับ โครงการคืนคุณแผ่นดิน งานเฉลิมฉลอง 30 ปี อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก งานแถลงข่าว “เพื่อช่วยเหลือเด็กผู้เสียหาย ในคดีสื่อลามกอนาจารเด็กบนออนไลน์”
วันนี้ ( 22 พฤศจิกายน 2562) เวลา 13.30 น. ศูนย์ประชุมวายุภักดิ์ โรงแรมเซนทรารา โดยคุณประสิทธิ์ เจียวก๊ก ประธานโครงการคืนคุณแผ่นดิน ร.ต.อ.เขมชาติ ประกายหงส์มณี รองผู้อำนวยการกองกิจการต่างประเทศและคดีระหว่างประเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ที่ปรึกษาโครงการ ศูนย์กฎหมายเพื่อสังคม) นายชินนริทธิ์ โชติสุริยพงศ์ ผู้อำนวยการโครงการ M-Help Me นางสาวศิขริน สิงห์สาคร ผู้จัดการโครงการ ศูนย์กฎหมายเพื่อสังคม ร่วมกันแถลงความคืบหน้า “เพื่อช่วยเหลือเด็กผู้เสียหาย ในคดีสื่อลามกอนาจารเด็กบนออนไลน์”
วัตถุประสงค์
1. เพื่อเผยแพร่ความสำเร็จของประเทศไทยต่อการดำเนินงานตามอนุสัญญา และทิศทางการพัฒนางานด้านสิทธิเด็กของประเทศไทยในอนาคต
2. เพื่อจัดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติงานด้านเด็กของประเทศไทยภายใต้ “สมัชชาสหวิชาชีพด้านเด็ก”
3. เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนในการปรับปรุงสถานการณ์ด้านสิทธิเด็ก
4. เพื่อสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิทธิเด็กและสร้างกระแสการรวมพลังเพื่อทำงานด้านสิทธิเด็ก
🚩คุณประสิทธิ์ เจียวก๊ก ประธานโครงการคืนคุณแผ่นดิน กล่าวว่า แอฟพลิเคชั่น M-Help Me มีส่วนร่วมทุกภาคส่วนหลากหลายด้าน เช่น ด้านการจราจร ด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสุขภาพ และด้านการศึกษา โดยส่วนนี้จะเป็นด้านสังคมจะเป็นการพัฒนามนุษย์และความมั่นคง ส่วนนี้จะต้องดูจากภัยที่ไม่ดีของด้านสังคมที่เกิดขึ้น งาน CRC เกิดขึ้นมา 30 ปี เรียกว่า “อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก” จะเป็นผู้สนับสนุน โดยมีเทคโนโลยีที่เชื่อต่อกับเจ้าหน้าที่สิ่งเหล่าจะเกิดได้ด้วยจะต้องอาศัยหลายส่วนหลายอย่างหรือหลายคนที่เข้าใจและเข้าถึงด้วยเรียกว่า Social Public Enterprises สามารถช่วยในการสนทนาและในการหาข้อมูลข่าวสารซึ่งจะเชื่อมต่างๆ กับเจ้าหน้าที่โดยตรง
ฝากถึงผู้ปกครอง แอฟพลิเคชั่น M-Help Me เป็นประโยชน์หลายอย่างในทุกภาคส่วน สามารถศึกษาและให้ลูกหลานหรือบุตรหลานได้เรียนรู้จากแอฟพลิเคชั่น สามารถแจ้งข่าวสารหรือแจ้งเหตุและเข้าช่วยเหลือได้ทันทีร.ต.อ.เขมชาติ ประกายหงส์มณี รองผู้อำนวยการกองกิจการต่างประเทศและคดีระหว่างประเทศ กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ที่ปรึกษาโครงการ ศูนย์กฎหมายเพื่อสังคม) กล่าวว่า การทำงานเกี่ยวกับเด็ก เราจะยึดหลักเกี่ยวกับกระบวนยุติธรรมทางกฎหมาย ทำให้เราไม่สามารถทำงานคนเดียวได้ สิ่งที่ผมจะสื่อก็คือ ทำยังไงเราถึงจะทำงานร่วมกันได้ ทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน องค์กรไหนก็แล้วแต่นะครับ ในอดีต จะมุ่งเน้นไปคดีละเมิดทางเพศเด็ก ซึ่งคดีละเมิด
เด็กในอดีต จุดเริ่มของผู้บังคับใช้กฎหมาย จะเริ่มจากการสอบปากคำเด็ก ซึ่งถ้าเด็กไม่พูด หรือไม่ให้ข้อมูล ทางเราจะต้องใช้เวลา 1ปี 2ปี หรือ3ปี ถึงเด็กจะเริ่มยอมพูดหรือให้ความร่วมมือ มีความไว้วางใจ เนื่องจาก เราต้องยอมรับว่า ขีดจำกัดในเรื่องการชักถามเกี่ยวกับเด็กมีข้อขีดจำกัด เยอะแยะมากมายแต่ในปัจจุบัน เรามีข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับการอนาจารเด็ก, กฎหมายเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ สามารถใช้เทคโนโลยีมาเป็นจุดเริ่ม ในการสืบสวน สอบสวนในคดีล่วงละเมิดทางเพศได้ เรามาคิดว่าจะทำยังไงให้ระบุให้ได้ว่าเด็กในรูปคือใครนะครับ ทาง DSI เองก็ทำงานแบบบูรณการทำลายกำแพงที่กั้นระหว่างหน่วย เจ้าหน้าที่ที่ใช้กฎหมายจากหน่วยใดก็ตามให้มาทำงานร่วมกันโดยเรามีการจัดหลักสูตรการอบรม ในรูปแบบ ชื่อโครงการลงมือทำ ซึ่งให้การทำงานเป็นCaseจริงๆ เอาCaseจริงมาทำกัน ในConceptว่าทำลายกำแพงกั้นระหว่างหน่วย ไม่ว่าจะเป็น DSI เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่กรมการปกครอง เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายอื่น หรือว่าเจ้าหน้าที่ทางด้านนิติวิทยาศาสตร์ โดยจะใช้เทคโนโลยีมาใช้ในการสืบสวน ซึ่งอันนี้ก็เป็นโมเดลหรือรูปแบบของตัวอย่างนึงที่เราประสบความสำเร็จในการสืบสวน สามารถช่วยเหลือเด็กได้ทั่วโลกมากกว่า 50 คน โดยการปฏิบัติการ เราได้รับข้อมูลมากจากตำรวจสากล สามารถยืนยันตัวเด็กได้ ว่าเด็กอยู่ในพื้นที่ประเทศใด
นายชินนริทธิ์ โชติสุริยพงศ์ ผู้อำนวยการโครงการ M-Help Me กล่าวว่า Application M-Help me ซึ่งก่อตั้งโดย คุณประสิทธิ์ เจียวก๊ก ประธานโครงการคืนคุณแผ่นดิน ซึ่ง M-Help me รับแจ้งเรื่อง เมื่อมีการแจ้งเหตุ ติดตามได้ว่า Case ที่เกิดขึ้นเป็นยังไงบ้าง จะมีการส่งเรื่องไปถึงเจ้าหน้าที่ ที่อยู่ในพื้นที่นั้นๆ โดยจะมีการแจ้ง Location ไปยังเจ้าหน้าที่ และก็มีการแจ้งกลับมายังพลเมืองดี ว่าขณะนี้ ทางเจ้าหน้าที่ได้มีการรับเรื่องแล้ว ซึ่งทางแอป จะมีการบันทึก ที่เจ้าหน้าที่ลองไปยังพื้นที่ และหลังจากนั้นก็ ส่งต่อให้กับทาง ทีมสืบสวนสอบสวน และระบุตัวผู้เสียหายและเด็ก เพื่อมีการประเมินผล และดำเนินคดี จากนั้นก็จะส่งต่อไปให้ศาล เพื่อทำการลงโทษ และ ดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด
Application M-Help Me 1.การแจ้งเบาะแส 2. การติดตามเรื่องCase 3.ข้อมูลองค์ความรู้ 4. การสนทนา เหมือนกับทางไลน์แชท เราจะเป็น Big Data ในการเก็บข้อมูล ของผู้กระทำความผิดหรือผู้ต้องสงสัย ทำให้เจ้าหน้าที่เวลาลงพื้นที่ สามารถที่จะสแกนหา ไม่ว่าจะเป็นฉายา ชื่อ ออกมาว่าข้อมูลมีอะไรบ้าง ประวัติมีอะไรบ้าง ทำให้การสืบสวนง่ายขึ้น ทั้งหมดนี้ก็จะเป็นส่วนของ M-Help Me ที่ได้เข้ามาให้ความร่วมมือในการพัฒนาต่างๆ
สามารถดาวโหลด Application M-Help Me ใน App store และ play store ได้แล้ววันนี้
##เดชา อุ่นขาว รายงาน