##เดย์ไทม์นิวส์ออนไลน์##ข่าวสาร สร้างสรรค์ ทันเหตุการณ์##ความร่วมมือพื้นที่สงวนชีวมณฑลพี่- น้อง ระหว่างราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
คณะเจ้าหน้าที่จากพื้นที่สงวนชีวมณฑลดงใน สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม เดินทางมายังประเทศไทย
เนื่องในโอกาสความร่วมมือพื้นที่สงวนชีวมณฑลพี่-น้อง ระหว่างราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐสังคมนิยม
เวียดนาม ระหว่างวันที่ ๑๘-๒๒ ธันวาคม ๒๕๖๒ โดยจะมีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ พื้นที่สงวนชีว
มณฑล ระหว่าง พื้นที่สงวนชีวมณฑลแม่สา-คอกม้า จังหวัดเชียงใหม่ และ พื้นที่สงวนชีวมณฑลดงใน สาธารณรัฐสังคม
นิยมเวียดนาม โดยอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เป็นประธานในการลงนาม
ในการประชุมเครือข่ายพื้นที่สงวนชีวมณฑลในแถบประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ ๑๑ เมื่อเดือน
พฤษภาคม ๒๕๖๑
ณ จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทยได้นําเสนอแนวทางความร่วมมือในรูปแบบพื้นที่สงวนชีวมณฑล
พี่น้องต่อที่ประชุม และคณะกรรมการแหงชาติว่าด้วยโครงการมนุษย์และชีวมณฑล สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
ให้ความสนใจและได้เชิญผู้แทนกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
เข้าร่วมประชุมความร่วมมือในการอนุรักษป์ ่าและสัตว์ป่าระหว่างสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและราชอาณาจักไทย
ในเดือนกันยายน ๒๕๖๑ ณ สาธารณรัฐสั ังคมนิยมเวียดนามผลการประชุมปรากฏว่า ทั้งสองฝ่ายเห็นควรจัดทํา
บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ พื้นที่สงวนชีวมณฑลพี่- น้อง (Sister Biosphere Reserve Arrangement) ระหว่างพื้นที่
สงวนชีวมณฑลของทั้ง ๒ ประเทศ แบ่งเป็น ๒ ฉบับ ได้แก่
๑. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ พื้นที่สงวนชีวมณฑลพี่-น้อง ระหว่าง พื้นที่สงวนชีวมณฑลแมส่า-คอกม้า
ราชอาณาจักรไทย และ พื้นที่สงวนชีวมณฑลดงใน สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
๒. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ พื้นทสงวนชีวมณฑลพี่-น้อง ระหว่าง พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง
ราชอาณาจักรไทย และ พื้นที่สงวนชีวมณฑลดงใน สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
การจัดทําบันทึกข้อตกลงพื้นที่สงวนชีวมณฑลพี่-น้อง ระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐสงคมนั ิยม
เวียดนามนั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มคุณภาพการทํางานที่มีความเป็นมืออาชีพ ตามความมุ่งหมายที่จะ “อนุรักษ์ เพื่อ
เป็นรากฐานของการพัฒนา และการพัฒนาเพื่อสนับสนุนการอนุรักษ์” เป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่
สงวนชีวมณฑลในราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ภายใต้แผนงานมนุษย์และชีวมณฑลของ
องค์การยูเนสโก และเครือข่ายโลกของพื้นที่สงวนชีวมณฑล โดยความร่วมมือภายใต้บันทึกข้อตกลงนี้จะครอบคลุมการ
พัฒนาความรู้เกี่ยวกับความสําคัญและคณคุ าของพ่ ื้นที่สงวนชีวมณฑล การเสริมสร้างความเข้มแข็งผ่านการแลกเปลี่ยน
ความรู้และความร่วมมือ ซึ่งเป็นการปรับปรุงงานด้านการอนุรักษ์ การสร้างความตระหนักรู้ และการจัดการพื้นที่สงวน
ชีวมณฑลอย่างครอบคลุมเพื่อประโยชน์ของคนรุ่นต่อไป ผ่านรูปแบบของกิจกรรม ได้แก่ การแลกเปลี่ยนความรู้ใน
หัวข้อที่คู่ภาคีให้ความสนใจรวมกันการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดตัวอย่างที่ดีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติและการฟื้นฟูระบบนิเวศเพื่อการจัดการพื้นที่สงวนชีวมณฑลที่มีประสิทธิภาพ การแลกเปลี่ยน
เยี่ยมเยียนเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการพัฒนาบุคลากร การสนับสนุนและพัฒนาการติดต่อสื่อสารที่เกี่ยวกับการทํางาน
ระหว่างเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่สงวนชีวมณฑล การสนับสนุนการศึกษาเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่สงวนชีวมณฑล และแผนความร่วมมือเฉพาะด้านอื่นๆ ตามที่ทั้งสองฝ่ายตก
ลงร่วมกัน
ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่สงวนชีวมณฑล ๔ แห่ง ได้แก่ ๑) พื้นที่สงวนชีวมณฑลสะแกราช จังหวัด
นครราชสีมา ๒) พื้นที่สงวนชีวมณฑลแมสา่ -คอกม้า จังหวัดเชียงใหม่ ๓) พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าสักห้วยทาก จังหวัด
เชียงใหม่ และ ๔) พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนองจังหวัดระนอง
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าของการดําเนินงานโครงการมนุษย์และชีว
มณฑลที่ดีในระดับภูมิภาค ปัจจุบันมีพื้นที่สงวนชีวมณฑลจํานวน ๑๐ แห่ง โครงการมนุษย์และชีวมณฑลในระดับ
สากลสนับสนุนให้พื้นที่สงวนชีวมณฑลมีการดําเนินการ ตามแผนปฏิบัติการลิมา (ค.ศ. ๒๐๑๖-๒๐๒๕) ในการสร้าง
พันธมิตรระหว่างพื้นที่สงวนชีวมณฑลเอง และระหว่างโครงการต่างภายใต้ยูเนสโก รวมถึงโครงการอื่นๆ ภายนอก
ยูเนสโกด้วย
## เดชา อุ่นขาว ผู้ดูแลเว็บไซต์ข่าว”เดย์ไทม์นิวส์ออนไลน์” รายงาน